ตู้จัดเก็บสารเคมีไวไฟ Flammable Storage Cabinet Requirements

แชร์บทความนี้

พื้นฐานในการป้องกันไฟอีกอย่างหนึ่งคือการใช้ ตู้จัดเก็บสารไวไฟ   NFPA, OSHA และ UFC ได้กำหนดให้ ตู้จัดเก็บสารไวไฟ ได้รับการออกแบบและสร้างตามข้อกำหนด  ข้อกำหนดหมายเลข 1910.106(d)(3)(ii)(a) ได้ระบุว่า ตู้โลหะจะต้องสร้างตามลักษณะดังนี้

ตู้จัดเก็บสารไวไฟ

• ด้านล่าง, ด้านบน และด้านข้างของตู้จะต้องใช้แผ่นเหล็กอย่างน้อยเบอร์ 18

• ตู้จะต้องมีผนังสองชั้นและมีช่องว่างอากาศ 1 ½ นิ้ว

• ต้องยึดรอยต่อด้วยหมุด , การเชื่อม , หรือทำให้แน่นโดยวิธีการที่เทียบเท่ากันนี้

• ประตูจะต้องมีจุดยึดสามจุด

• ประตูจะต้องมีร่องพับขึ้นอย่างน้อย 2 นิ้วเหนือแนวล่างสุด เพื่อเห็บของเหลวที่อาจกระเด็นให้อยู่ภายในตู้เก็บ

• ตู้เก็บจะต้องมีป้ายแจ้งว่า  “ไวไฟ ห้ามนำไฟเข้ามาใกล้”  

ข้อบังคับนี้ มีข้อกำหนดสำหรับตู้เก็บที่ทำด้วยไม้ ข้อกำหนดหมายเลข  1910.106(d)(3)(ii)(b) ระบุว่า ตู้เก็บที่ทำด้วยไม้ จะต้องสร้างโดยมีลักษณะดังนี้

• ผนังด้านล่าง, ด้านบน และด้านข้างของตู้เก็บจะต้องทำด้วยไม้อัดซึ่งเป็นเกรดสำหรับใช้ภายนอกและหนาอย่างน้อย 1 นิ้ว

• ไม้อัดจะต้องไม่แตกออกจากกันหรือแยกออกขณะเกิดเพลิงไหม้

• ข้อต่อจะต้องมีการบากและยึดด้วยสกรูไม้ที่มีหัวเรียบทั้งสองทิศทาง

• หากใช้ประตูสองบาน จะต้องมีรอยทาบซ้อนกันไม่น้อยกว่า 1 นิ้ว

• ประตูจะต้องมีกลอนและบานพับที่ไม่หลวมเมื่อเกิดเพลิงไหม้

• ฐานของประตูหรือถาดควรจะถูกยกพับขึ้นอย่างน้อย 2 นิ้ว เหนือพื้นตู้ เพื่อเก็บของเหลวที่กระเด็นให้คงอยู่ภายในตู้

• ตู้เก็บจะต้องมีป้ายแจ้งว่า  “ไวไฟ ห้ามนำไฟเข้ามาใกล้”

นอกเหนือจาก ข้อกำหนดตามที่ได้กล่าวมาด้านบน UFC ( Uniform Fire Code) ยังกำหนดให้ใช้ประตูที่ปิดเองได้องค์กรท้องถิ่นหลายๆ แห่งก็ใช้มาตรฐานนี้ในการสร้างข้อกำหนดขึ้นมาใช้ในท้องถิ่นเอง

พื้นที่เสี่ยงต่อเพลิงไหม้ 

OSHA ไม่ได้ให้คำนิยามความหมายของพื้นที่เสี่ยงต่อเพลิงไหม้มาในมาตรฐาน , อย่างไรก็ตาม พื้นที่เสี่ยงต่อเพลิงไหม้ได้ถูกกำหนดโดย NFPA Code 30 (1.6.15) ว่า “พื้นที่ของอาคารที่แยกจากพื้นที่อื่นๆ โดยการก่อสร้าง สามารถต้านทานไฟได้อย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง และอุปกรณ์สื่อสารจะต้องถูกป้องกันอย่างเหมาะสมโดยสามารถทนต่อไฟไหม้อย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง

นอกจากนี้ NFPA ยังได้ให้จัดให้มีการแบ่งกลุ่มของตู้เก็บสารไวไฟในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากในโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ไม่มีผนังกั้นระหว่างแต่ละส่วน “ในโรงงานอุตสาหกรรม, ตู้ที่มีเพิ่มเติมสามารถตั้งไว้ในพื้นที่เดียวกันได้ ถ้าตู้หรือกลุ่มของตู้ที่เพิ่มขึ้นมามีไม่มากกว่าสามตู้ และวางแยกห่างจากตู้หรือกลุ่มตู้อื่นๆ อย่างน้อย 100 ฟุต (30 เมตร) ( ข้อ 4.3.2 ข้อยกเว้นที่ 1)

คำถามที่ถูกถามบ่อย

ถาม เมื่อทำการจ่ายของเหลวไวไฟ  ฉันจำเป็นจะต้องใช้สายผูกยึดหรือต่อสายดินหรือไม่ ?
ตอบ ตามข้อกำหนดหมายเลข 1910.106(e)(6)(ii), จำเป็นต้องใช้สายผูกยึดหรือสายดินกับของเหลวคลาส  I  เท่านั้น , อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยของท่าน ควรต่อสายดินเสมอเมื่อทำการจ่ายของเหลวไวไฟหรือของเหลวที่ติดไฟได้ 
ถาม ฉันจำเป็นจะต้องมีตู้เก็บสารไวไฟหรือไม่ ?
ตอบ  OSHA ไม่ได้กำหนดให้จะต้องใช้ตู้เก็บสารไวไฟ นอกจากจำนวนรวมของของเหลวไวไฟหรือของเหลวที่ติดไฟได้มีมากกว่าที่กำหนด องค์กรท้องถิ่นหรือบริษัทประกันอาจกำหนดให้ใช้ตู้เก็บสารไวไฟในปริมาณสารที่น้อยกว่าข้อกำหนดของ OSHA
ถาม อะไรคือข้อแตกต่างของถังบรรจุที่ปลอดภัยแบบ I และแบบ II ?
ตอบ ถังบรรจุที่ปลอดภัยแบบ I สามารถมีปากถังที่ใช้รินออกหรือเติมของเหลวเข้าไปที่เดียวกันได้  ถังบรรจุที่ปลอดภัยแบบ II จะมีช่องเปิดสองที่ สำหรับรินออกหนึ่งช่องและสำหรับเติมหนึ่งช่อง
ถาม ที่ดักจับเปลวไฟคืออะไรละมีหน้าที่อะไร?
ตอบ ที่ดักจับเปลวไฟคือตาข่ายหรือแผ่นโลหะที่ถูกเจาะให้เป็นรูและใส่ไว้ในภาชนะเก็บสารไวไฟ(เช่นถังบรรจุที่ปลอดภัย, ตู้) ซึ่งป้องกันสิ่งที่อยู่ภายในจากเปลวไฟหรือประกายไฟภายนอก  มันยังสามารถระบายความร้อนได้ ถังบรรจุแบบ I และแบบ II และถังแบบพิเศษจะมีที่ดักจับเปลวไฟรวมอยู่ด้วย
ถาม ตู้เก็บสารไวไฟจำเป็นต้องมีการระบายอากาศทางกลหรือไม่ ?
ตอบ OSHA  ไม่ได้กำหนดให้ใช้การระบายอากาศโดยทางกล  NFPA แนะนำให้ใช้การระบายอากาศโดยทางกลแต่จะต้องระบายอากาศโดยสอดคล้องกับ NFPA 91 ระบบระบายไอเสียสำหรับสารที่แพร่กระจายในอากาศ  

facebook : Thai-Safetywiki

ติดต่อเรา : Thai-Safetywiki

อย่าติดโซล่าเซลล์หากยังไม่รู้เงื่อนไขเหล่านี้ ระบบการทำงานที่เหมาะกับการใช้งาน ตอบคำถาม ติดโซล่าเซลล์คุ้มมั้ย ?

แชร์บทความนี้

แชร์บทความนี้ด้วยการทำงานของโซล่าเซลล์ที่มีการใช้แสงแดดแปลงมาเป็นพลังงาน ประกอบก

อ่านเพิ่มเติม »

เตรียมตัวอย่างไรเมื่อเกิดเหตุการณ์ สารเคมีหกรั่วไหล

แชร์บทความนี้

สารเคมีหกรั่วไหล นั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุเช่นความประมาทจากการเคลื่อนย้ายสารเคมี อุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน ฯลฯ เราจะเตรียมตัว

อ่านเพิ่มเติม »